5 เทคนิคง่ายๆ กับการเขียน Outline ของบทความ

5 เทคนิคง่ายๆ กับการเขียน Outline ของบทความ

หลายๆคนมักจะคิดว่าการเขียนบทความแต่ละรูปแบบไม่ว่าจะเป็น SEO ลงเว็บไซต์ บทความทั่วไป หรือลง facebook เป็นเรื่องที่ยากจังเลย ทำไมถึงเขียนออกมาได้ยากขนาดนี้

แต่จะดีกว่าไหม? ถ้าเราทำให้การเขียนบทความเป็นเรื่องที่ง่ายๆ ใครๆก็สามารถออกแบบบทความ สามารถเขียนบทความง่ายๆ ออกมาเองได้

สำหรับการเขียนบทความใดบทความหนึ่งนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร แนวไหน รูปแบบใด สิ่งสำคัญลำดับแรกๆเลย สำหรับการที่เราจะเขียนบทความดีๆ ออกมาได้สักเรื่องนั้น จึงต้องมีความจำเป็นที่ต้องเขียน outline บทความนั้นๆก่อน หรือเป็นการวางโครงเรื่องของบทความนั้นๆ นั่นเอง เพื่อที่ผู้ที่เขียนจะได้เขียนบทความออกมาได้ ดี ง่าย ลื่นไหล และรวดเร็วยิ่งขึ้นค่ะ

ทำไมเราถึงต้องเขียน outline บทความ?

การเขียน outline บทความ หรือการวางโครงเรื่องสำหรับการเขียนบทความเรื่องนั้นๆไว้ จะทำให้เรามีแผนงาน แผนการเขียน การเกริ่นนำเรื่อง การร่างรายละเอียดของเนื้อเรื่อง การเขียนสรุป ในการเขียนบทความของแต่ละเรื่องออกมาได้อย่างเป็นลำดับ ทำให้เรารู้ว่าบทความเราที่เขียนออกมานั้นจะออกไปในแนวทิศทางใด ในแนวรูปแบบไหน ถูกต้องตามที่เราต้องการ ที่เราคิดไว้ และตามที่เราอยากจะได้ไหม?  

เพราะการที่เราวางโครงเรื่องก่อนที่จะเขียนบทความ นั้นก็เพื่อให้ผู้เขียนบทความ มีความง่าย เข้าใจเนื้อหาในการเขียนบทความไปได้อย่างต่อเนื่องรวดเร็ว

วันนี้เราจึงมี 5 เทคนิคง่ายๆ กับการเขียน outline บทความ มาแนะนำกันค่ะ ตามมาได้เลยค่ะ

  1. ลำดับแรกของการเขียนวางโครงเรื่องสำหรับการเขียนบทความเลยก็คือ การที่เราต้องทำความเข้าใจกับเนื้อเรื่องนั้นๆ ที่เรากำลังจะเขียนโครงเรื่อง ว่าเนื้อเรื่องนั้นเป็นอย่างไร? เป็นรูปแบบไหน อ่านเนื้อเรื่องทั้งหมดให้เข้าใจก่อน เพื่อที่เราจะได้เขียนเนื้อเรื่องได้อย่างลื่นไหล และวางแนวทางในการเขียนให้ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
  2. ลำดับที่สองของการเขียนวางโครงเรื่องสำหรับการเขียนบทความนั้นคือ ตั้งชื่อเรื่อง หรือหัวข้อเรื่องที่เราต้องการจะเขียนให้ดูน่าสนใจ น่าดึงดูด เพื่อดึงผู้คนให้เข้ามาอ่านบทความที่เราเขียนได้เป็นจำนวนมาก
  3. ลำดับที่สามของการเขียนโครงเรื่อง คือคำนำ หรือการเกริ่นนำเนื้อเรื่องเชิญชวน ความเป็นมาของเนื้อเรื่องในช่วงแรกของบทความนั้น ควรต้องเขียนให้น่าสนใจ ทำให้ผู้คนอยากรู้เนื้อหาของบทความ ดึงดูดผู้อ่านให้สามารถหยุดอ่านบทความ และอยากอ่านบทความของคุณต่อไปเรื่อยๆจนจบค่ะ
  4. ลำดับที่สี่ของการวางโครงเรื่องของบทความนั้น คือ การเขียนลำดับของเนื้อเรื่อง ว่าเนื้อเรื่องของคุณมีลำดับเหตุการณ์อย่างไร มีหัวข้อหลัก หัวข้อรอง หัวข้อย่อยที่ต้องเขียนอะไรบ้าง ให้เขียนเป็นข้อๆ เป็นลำดับไว้ เพื่อที่จะทำให้เรามองบทความที่เรากำลังจะเขียนว่าจะออกมาในแนวไหน รูปแบบไหน พร้อมด้วยเราจะได้เขียนเนื้อเรื่องของบทความนั้นเป็นให้เป็นไปได้อย่างง่าย และรวดเร็วค่ะ
  5. ลำดับสุดท้าย ของการวางโครงเรื่องคือ การวางรายละเอียดสรุปหัวข้อ สรุปเนื้อเรื่องนั้นๆ ที่เราเขียนค่ะ ว่าเนื้อเรื่องทั้งหมดที่เรากล่าวมา เล่ามานั้น ให้ประโยชน์ มีรายละเอียดเนื้อความโดยรวมสั้นๆ เป็นอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะให้ผู้อ่านเข้าใจรายละเอียด เข้าใจเนื้อเรื่อง ของบทความนั้นๆให้ได้ดีมากยิ่งขึ้นค่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ? สำหรับ 5 ลำดับวิธีง่ายๆกับการเขียน outline ของบทความ หรือ 5 เทคนิควิธีสำหรับการวางโครงเรื่องก่อนเขียนบทความนั่นเอง  เราหวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์กับหลายๆคนที่กำลังเริ่มต้นหัดเขียนบทความ หรือกำลังหาวิธีวางโครงเรื่องก่อนเขียนบทความอยู่นะคะ จากบทความด้านบนเห็นไหมล่ะคะว่า?

ถ้าเรามีการเขียน outline ของบทความ หรือการวางโครงเรื่อง วางแผนการดำเนินเนื้อเรื่องดีๆ ก่อนที่จะลงมือเขียนบทความ ก็จะสามารถทำให้เราเขียนบทความที่ดี น่าอ่าน น่าสนใจ ได้ตรงรูปแบบ ตามความต้องการ และเป็นลำดับขั้นตอนที่ถูกต้อง ชัดเจน ออกมาได้อย่างง่าย ลื่นไหล โดยๆไม่ต้องหยุดชะงักกันเลยทีเดียวค่ะ

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *